Welcome to Green Island

Green Lsland

EM คืออะไร

EM ย่อมาจากคำว่า Effective Microorganisms ซึ่งมีความหมายว่า กลุ่มจุลินทรีย์ที่มีประสิทธิภาพ มีลักษณะเป็นของเหลว สีน้ำตาล กลิ่นหวานอมเปรี้ยว คุณสมบัติบางประการและการเก็บรักษา
  1. EM เป็นสิ่งมีชีวิต ต้องเก็บไว้ในที่ร่ม อุณหภูมิปกติ ไม่ร้อนจัดหรือเย็นจัด ประมาณ 20 – 45 องศาเซลเซียส หากไม่ได้เปิดใช้เก็บไว้ได้นาน 1 ปี EM ไม่ใช่ปุ๋ย แต่เป็นกลุ่มจุลินทรีย์ที่อยู่ในสภาพพัก การนำไปใช้หากเปิดใช้แล้วให้รีบปิด เก็บไว้ได้นาน 6 เดือน

จุลินทรีย์ใน EM

คำว่า จุลินทรีย์หรือแบคทีเรีย บางคนอาจเข้าใจว่าเป็นเชื้อโรคที่เป็นอันตราย อย่างไรก็ตามจุลินทรีย์ที่ใช้ในการผลิต EM (จุลินทรีย์ผลิตกรดแลคติก ยีสต์ และจุลินทรีย์สังเคราะห์แสง) ผลิตจากจุลินทรีย์ธรรมชาติ ไม่มีจุลินทรีย์ก่อโรค ไม่มีสารเคมีสังเคราะห์ และไม่ใช่การตัดต่อยีนส์ (GMOs) ซึ่งเป็นโทษต่อมนุษย์ สัตว์และพืช EM ประกอบด้วยจุลินทรีย์ที่ปลอดภัยซึ่งใช้กันมาก่อนในสมัยโบราณจะโดยตั้งใจหรือ ไม่ตั้งใจก็ตาม จุลินทรีย์ใน EM มี 3 กลุ่ม ดังต่อไปนี้

1.จุลินทรีย์ผลิตกรดแลกติก

เป็นจุลินทรีย์ที่จัดอยู่ในพวกแบคทีเรียที่สามารถเปลี่ยน น้ำตาลให้เป็นกรดแลคติกได้โดยผ่านกระบวนการหมัก ซึ่งกรดแลกติกสามารถยับยั้งการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์ก่อโรคบางชนิด และจุลินทรีย์อื่น ๆ ได้ เนื่องจากมี pH ที่ต่ำ เป็นที่รู้กันอย่างกว้างขวางว่ามีการนำเอาจุลินทรีย์ผลิตกรดแลคติกไปใช้ใน การหมักอาหารหลายชนิด เช่น เนยแข็ง โยเกิร์ต และสามารถเก็บไว้ได้นาน ตั้งแต่หลุยส์ ปาสเตอร์ ได้ค้นพบจุลินทรีย์ผลิตกรดแลคติกในปี พ.ศ.2400 ทำให้รู้ถึงประโยชน์ของมันที่เกี่ยวกับสุขภาพและการมีอายุยืนยาว เมื่อเร็ว ๆ นี้ มีงานวิจัยที่พบว่า นอกจากมันจะอยู่ที่ลำไส้เล็กของคนแล้วมันยังเป็นตัวกระตุ้นให้เกิดภูมิ ต้านทาน มีคุณสมบัติในการต่อต้านการสูญเสียโปรตีนในเลือด ต่อต้านการกลายพันธ์ โคเลสเตอรอลในเลือดต่ำ และการมีความดันโลหิตต่ำ

2. ยีสต์

เป็นที่รู้จักกันดีว่าเป็นตัวตั้งต้นในการหมัก ยีสต์เป็นจุลินทรีย์ที่ใช้ในการหมักเบียร์หรือแอลกอฮอล์ และใช้ในการทำขนมปัง ยีสต์ค้นพบโดยพ่อค้าชาวดัทช์ ชื่อ แอนโทนี แวน ลีเวนฮุค (ในปี พ.ศ.2175 -2266) ซึ่งเป็นผู้ค้นพบเป็นคนแรกในโลกเรื่องจุลินทรีย์ ยีสต์ถูกจำแนกเป็นสัตว์เซลเดียว ซึ่งแตกต่างจากเชื้อราเพราะมันจะอยู่เป็นเซลเดียวไปตลอดชีวิต ในโลกของจุลินทรีย์จะมีกลุ่มจุลินทรีย์กลุ่มเล็ก ๆ ที่มีความจำเป็นต่อชีวิตมนุษย์ ยีสต์จะมีอยู่มากในสิ่งแวดล้อมที่มีน้ำตาลมาก เช่น น้ำหวานจากเกสรดอกไม้ ตามผิวของผลไม้ ใน EM ยีสต์ผลิตจะสารชีวพันธ์ต่าง ๆ หรือสารที่จำเป็นต่อสิ่งมีชีวิต เช่น กรดอะมิโน และแป้ง

3. จุลินทรีย์สังเคราะห์แสง

โฟโต้ทรอปฟิคแบคทีเรีย (เป็นที่รู้จักกันดีในชื่อ จุลินทรีย์สังเคราะห์แสง) เป็นแบคทีเรียโบราณที่เกิดมาก่อนการเกิดดาวเคราะห์โลกที่มีออกซิเจนหนาแน่น อย่างเช่นในปัจจุบัน จากชื่อของมันบ่งบอกให้รู้ว่ามันใช้พลังงานจากแสงอาทิตย์ในการย่อยสลายสาร อินทรีย์และอนินทรีย์ จุลินทรีย์สังเคราะห์แสงมีอยู่ตามนาข้าว ทะเลสาบ และทุกหนทุกแห่งบนโลกนี้ ในทางปฏิบัติจะพบจุลินทรีย์ที่มีประสิทธิภาพนี้ตามทุ่งนาเพราะมันย่อยสลาย อินทรียวัตถุได้ดี ทั้งในการบำบัดน้ำเสียมีงานวิจัยที่รายงานเกี่ยวกับประสิทธิภาพของ จุลินทรีย์นี้ ส่วนที่ใช้ในการเกษตร การเลี้ยงสัตว์น้ำ และการเลี้ยงสัตว์ทั่วไป ภายใต้สภาพที่มีการผลิตไฮโดรเจนมันสามารถย่อยสลายสารต่าง ๆ ได้อย่างต่อเนื่อง จุลินทรีย์สังเคราะห์แสงร่วมอยู่ในระบบย่อยต่าง ๆ และเป็นจุลินทรีย์หลักในวัฏจักรไนโตรเจนและวัฏจักรคาร์บอน เนื่องจากเป็นจุลินทรีย์หลักในวัฏจักรต่าง ๆ มันจึงทำงานร่วมกับจุลินทรีย์ใน EM ได้ ดังนั้นจุลินทรีย์สังเคราะห์แสงจึงเป็นจุลินทรีย์ที่สำคัญใน EM

วิธีทำ EM ขยาย

เป็นการปลุกจุลินทรีย์ที่อยู่ในสภาพพักให้ตื่นขึ้นโดยการให้ อาหารทำให้เพิ่มจำนวนเซลล์มากขึ้นเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานและ เป็นการประหยัดค่าใช้จ่าย

ส่วนผสม

  1. EM หัวเชื้อ 1 ส่วน
  2. กากน้ำตาล 1 ส่วน
  3. น้ำสะอาด 20 ส่วน

* ส่วน ยึดตามภาชนะที่ใช้ตวงตามความเหมาะสม

วิธีทำ:

  1. กรณีใช้ภาชนะหมัก ขนาด 1 ลิตร ใส่น้ำสะอาดครึ่งลิตร
  2. เติม EM กับกากน้ำตาล เขย่าหรือคนให้ละลายเข้ากัน
  3. เติมน้ำสะอาดให้เต็ม ปิดฝาให้แน่น
  4. หมักไว้ 7 วัน แล้วนำไปใช้ได้ ควรใช้ให้หมดภายใน 7 วัน

* น้ำต้องสะอาด เช่น น้ำฝน น้ำบ่อ หากเป็นน้ำประปาต้องใส่ภาชนะเปิดฝาไว้ประมาณ 1 วัน เพื่อให้คลอรีนระเหย

* ภาชนะที่ใช้ในการหมักควรเป็นพลาสติก มีฝาเกลียวปิดสนิท เนื่องจากจะเกิดแรงดันในระยะหมัก หากภาชนะไม่มีฝาปิดควรใช้พลาสติกคลุมแล้วใช้ยางรัดให้แน่น

* คำว่า “ฝา” หมายถึง ฝาแกลลอน EM ขนาด 1 ลิตร ปริมาณ 10 มิลลิลิตรต่อฝา

* ถ้ามีกลิ่นเน่าเหม็นให้นำไปเททิ้งลงในโถส้วม

วิธีทำ EM หมักน้ำซาวข้าว

น้ำซาวข้าวโดยทั่วไปผู้คนมักจะเททิ้งลงร่องน้ำโดยไม่รู้ว่าร่อง น้ำเสียนั้นมีจุลินทรีย์อยู่มากมาย เมื่อเทน้ำซาวข้าวลงไปจึงเป็นเหตุทำให้เกิดมลพิษต่อสิ่งแวดล้อมเพิ่มขึ้น แต่ถ้านำน้ำซาวข้าวมาหมักด้วย EM ก่อนจะสามารถนำไปใช้ได้สารพัดประโยชน์

ส่วนผสม

  1. น้ำซาวข้าว 1 – 2 ลิตร
  2. EM 10 มิลลิลิตร หรือ 1 ช้อนแกง
  3. กากน้ำตาล 10 มิลลิลิตร หรือ 1 ช้อนแกง

วิธีทำ

  1. กรณีใช้ภาชนะหมัก ขนาด 1 ลิตร ใส่น้ำซาวข้าวครึ่งลิตร
  2. เติม EM กับกากน้ำตาล เขย่าหรือคนให้ละลายเข้ากัน
  3. เติมน้ำสะอาดให้เต็ม ปิดฝาให้แน่น
  4. หมักไว้ 7 วัน แล้วนำไปใช้ได้ ควรใช้ให้หมดภายใน 7 วัน

วิธีทำ โบกาฉิ

ส่วนผสมส่วนที่ 1

  1. มูลสัตว์แห้ง 1 ส่วน
  2. แกลบ 1 ส่วน
  3. รำละเอียด 1 ส่วน

* ใช้อินทรียวัตถุที่มีอยู่ในท้องถิ่นได้ ในอัตราส่วน สัตว์กับพืช 1 : 1 – 1 : 3

ส่วนที่ 2

  1. EM 10 ช้อนแกง
  2. กากน้ำตาล 10 ช้อนแกง
  3. น้ำสะอาด 10 ลิตร

วิธีทำ

  1. ผสมมูลสัตว์ กับแกลบ แล้วรดด้วยส่วนผสมที่ 2 คลุกเคล้าให้เข้ากัน
  2. นำรำละเอียดมาผสมคลุกเคล้าให้เข้ากัน วัดความชื้นประมาณ 30 – 40% (ใช้มือกำส่วนผสมบีบแน่น แบมือออกจะเป็นก้อนพอดี)
  3. นำไปหมัก
  4. วิธีหมัก มีหลายวิธี เช่น

  5. บรรจุถุงปุ๋ย 3/4 ถุง มัดปากถุงแน่น วางราบบนไม้รอง หมักไว้ไม่น้อยกว่า 7 วันจนแห้งสนิท นำไปใช้ได้
  6. บรรจุถัง อัดแน่นจนเต็มถัง ปิดแน่น หมักไว้ 10 – 15 วัน นำไปใช้ได้
  7. วิธีทำ EM ball (ดังโงะ)

    เพื่อการบำบัดน้ำเสียในแหล่งน้ำที่มีโคลนตะกอน หรือน้ำไหล หรือน้ำลึก ให้ได้ผลดีกว่าการใช้ EM ขยาย หรือจะใช้ทั้ง EM ball และ EM ขยาย ร่วมกันก็จะได้ผลดียิ่งขึ้น

    ส่วนผสม ส่วนที่ 1

    1. รำละเอียด 1 ส่วน
    2. แกลบป่น หรือ รำหยาบ 1 ส่วน
    3. ดินทราย 1 ส่วน

    * ใช้ โบกาฉิ แทนส่วนที่ 1 หรือใช้โคลนตะกอน แทนดินทรายได้